Category Archive Books

Byphunsanit

สนุกกับเวลา

ครั้งหนึ่ง เพราะเรียนบอกเวลาใช้ AM. / PM. เลยคิดว่าไทยเป็นประเทศเดียวที่มีการนับเวลาแบบหนึ่งวันมี 24 ชั่วโมง อันนี้เป็นความเข้าใจผิด เพราะว่าประเทศส่วนใหญ่ใช้การนับเวลาแบบนี้เป็นเรื่องปกติ (ทำไมไม่ทำนาฬิกา 24 ชม. มาขายเยอะๆนะ) อีกอย่างก็คือ นอกจากนับ 12, 24 ชั่วโมงแล้วบ้านเรากับลาวยังมีอะไรแปลกๆ ที่ขนาดคนไทยแต่กำเนิดบางคน (ผม) ยังไม่เคยสังเกตคือเรากับลาว มีการนับแบบ 6 ชั่วโมงพวก ตีหนึ่ง ตีสอง นั่นละครับ

ทีนี้มาถึงเรื่องวันที่กันบ้าง เราเขียนวันที่ใช้ วัน เดือน ปี อเมริกาใช้ เดือน วัน ปี ( ทำเอางงประจำ วันที่ของ boss มันวันหรือเดือน ) ส่วนใหญ่ใช้ ปี เดือน วัน (อันนี้ดูผ่านๆ ก็เห็นเลยว่า อันไหนก่อนอันไหนหลัง) เวลาเขียนโปรแกรมใช้ นับเป็นจำนวนหน่วยวินาทีตั้งแต่ปี 1900 ( 13 กุมพาพันธ์ 2554 เที่ยงคืนพอดีคือ 1297576800 อันนี้ใครเห็นแล้วบอกเวลาได้ คุณควรรีบไปสอบชิงทุนอะไรก็ได้ รับรองติดแน่ๆ ) ระบบที่ผมชอบที่สุดคือ ระบบปฏิทินของฝรั่งเศสสมัยปฎิวัติ มีนักวิทยาสาสตร์ คณิตศาสตร์ เข้าร่วมหลายคนเห็นว่าการนับ 1 สัปดาห์มีเจ็ดวัน ตามจำนวนวันที่พระเจ้าสร้างโลก นะมัน คำนวณยาก (อย่าง ทำงานระหว่างเดือน กุมพาพันธ์ ถึงสิงหาคมมันกี่วัน กี่ชั่งโมงกันแน่) เลยแก้ง่ายๆ ออกกฎหมาย

1 ปีมี 10 เดือน
1 เดือนมี 10 วัน (เงินเดือนออก เร็วทันใช้)
1 วันมี 10 ชั่วโมง
1 ชั่วโมงมี 100 นาที (ถ้าเป็น 10 นาทีจะสวยมาก)
1 นาทีมี 100 วินาที

A FRENCH REPUBLICAN ORMOLU PENDULE PORTATIVE SHOWING BOTH DECIMAL AND DUODECIMAL TIME AND STRIKING DECIMAL TIMEdecimal clockคิดง่ายสุดๆ น่าเสียดายที่ยกเลิกไปแล้ว และไม่มีที่ไหนรับไปใช้ต่อ มีอะไรแปลกๆ อีกเยอะลองอ่านดูนะ เวลาของเรามันไม่เท่ากัน